วันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ทหาร กกล.รส.หนองคาย ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตรวจความคืบหน้าของความเสียหายซึ่งเกิดจากการลักลอบขุดดิน หิน ในที่ ส.ป.ก. นำออกไปขาย หลังได้รับการร้องเรียนการดำเนินการไม่คืบหน้า


     วันนี้ (27 ก.ค. 57) มี ความคืบหน้าของการตรวจสอบความเสียหายซึ่งเกิดจากการลักลอบขุดดินและหิน ในที่ ส.ป.ก. นำออกไปขาย โดยเจ้าหน้าที่หลายฝ่ายประกอบด้วย นายไพฑูรย์ จิตต์สุทธิผล นายอำเภอศรีเชียงใหม่ พ.ต.อ.สุทธิโรจน์ นพโพธิพงศ์ ผู้กำกับการ 3 กองบังคับการปราบปรามการการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นางธานทิพย์ บำรุงรส นิติกรชำนาญการพิเศษ สำนักงาน ส.ป.ก. หนองคาย ร้อยตรีสังเวียน แสงพลู รอง ผบ.ร้อย รักษาความสงบ ที่ 1 กองกำลังรักษาคามสงบจังหวัดหนองคาย พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จำนวนหนึ่ง ได้เข้าตรวจสอบที่ ส.ป.ก. แปรงเลขที่ 2 กลุ่มที่ 913 เนื่อที่ประมาณ 34-1-37 ไร่ อยู่พื้นที่บ้านห้วยช้างเผือก หมู่ 9 ตำบลพระพุทธบาท อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย โดยได้เข้าไปสำรวจเมื่อวันที่ 21 ก.ค. 57 ที่ผ่านมา ซึ่งการดำเนินการไม่มีความคืบหน้า
     จากการตรวจสอบพื้นที่ดังกล่าวพบ มีการขุดดิน หิน และนำออกนอกแปรงที่ดิน ซึ่ง ส.ป.ก.ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษ ต่อพนักงานสอบสวน สภ.ศรีเชียงใหม่ฯ เมื่อวันที่ 28 มี.ค.57 และได้มีการร้องทุกข์กล่าวโทษเพิ่มเติม เมื่อวันที่ 8 พ.ค.57 และ ส.ป.ก.หนองคาย ได้มีหนังสือ ที่ นค 0011/1033 ลงวันที่ 2 พ.ค. 57 แจ้งเตือนให้ นางวัน กำจ่าย ซึ่งเป็นผู้ได้รับการจัดที่ดินจาก ส.ป.ก. ให้ดำเนินการแปรงที่ดินกลับสู่สภาพเดิม ภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันได้รับหนังสือ เมื่อเวลาได้ล่วงเลยกำหนดมาแล้ว นางกำจ่ายฯ ไม่ได้ดำเนินการใด ๆ โดยอ้างเหตุว่าไม่สามารถหาผู้รับจ้างมาดำเนินการปรับพื้นที่ได้ และขอขยายเวลาออกไปอีก เนื่องจากช่วง เดือน ก.ค.-ก.ย. นั้นเป็นฤดูฝนไม่สามารถดำเนินการได้ โดยจะเข้าดำเนินการจากเดือน ต.ค.และจะเสร็จสิ้นภายในเดือน ธ.ค.57 ซึ่ง ส.ป.ก.จะนำเสนอคณะกรรมการปฎิรูปที่ดินจังหวัดหนองคายเพื่อพิจารณาต่อไป

     ด้าน ช่างรังวัดชำนาญการ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดหนองคาย กล่าวว่า จากการตรวจสอบทางฟิสิกส์ พบว่าตัวอย่างมีลักษณะเป็นหินทราย ที่มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็น ซิลิกา ซึ่งจะแจ้งผลสำรวจไปยังสำนักงานอุตสาหกรรมพื้นฐานและเหมืองแร่ เขต 2 อุดรธานี เพื่อส่งวิศวะกรรมเหมืองแร่เข้าตรวจสอบว่าเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.เหมืองแร่หรือไม่ 
     ส่วน พ.ต.ท.สมคิด ทิพยจักรพงศ์ รองผู้กำกับการกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า จากการเข้าร่วมการตรวจสอบพื้นที่เกิดเหตุ พบร่องรอยของการขุดดินและหิน เป็นบ่อลึกและกว้าง ซึ่งน่าจะครบองค์ประกอบของความผิด พ.ร.บ.แร่ เนื่องจากกฎหมายระบุว่าหินทุกชนิดเป็นแร่ แต่ต้องรอผลตรวจของวิศวะกรรมเหมืองแร่ ว่ามีความเห็นอย่างไร จึงจะเข้าแจ้งข้อกล่าวหาร้องทุกข์เพิ่มเติมกับผู้กระทำผิดต่อไป

     ในส่วน นางธานทิพย์ บำรุงรส นิติกรชำนาญการพิเศษ สำนักงาน ส.ป.ก. หนองคาย เปิดเผยว่า เจ้าของที่ขออนุญาติเพื่อปรับพื้นที่ แต่ระเบียบของ ส.ป.ก.ห้ามนำดินและหิน ออกนอกพื้นที่ ถ้าจะนำออกจากการขุดบ่อร้อยละห้าของพื้นที่ ต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการการปฎิรูปที่ดินจังหวัดหนองคาย แต่ต้องจ่ายค่าเสียหายเท่ากับมูลค่าของดินที่นำออก และเตือนเจ้าของที่ดินให้แปรงสภาพพื้นที่คืนเช่นเดิมภายใน 60 วัน เมื่อเลยกำหนดจึงได้เข้าตรวจดูอีกครั้ง พบว่ายังไม่มีการดำเนินการไดๆ เลยหากเจ้าของที่ดิน ไม่ดำเนินการทำดินกลับสู่สภาพเดินได้ ส.ป.ก. ก็สั่งให้สิ้นสิทธิ์ ในที่ดินได้ทันที

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น