วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558

สนง.เกษตรอำเภอเมืองหนองคาย ส่งเสริมการใช้เชื้อรา”ไตรโคเดอร์ม่า” เชื้อรา”บิวเวอเรีย” แก่เกษตรกร นำร่องในการควบคุมแมลงสตรูพืชทดแทนสารเคมี ลดภาวะต้นทุนและความเสียหายที่เกิดจากโรคพืช เป็นการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซี่ยน (AEC) อย่างเป็นทางการ

     วันนี้ (28 ม.ค. 58) ที่ แปลงติดตามสถานการณ์ศัตรูพืชชุมชน หมู่ 4 บ้านนาพิพาย ต.ปะโค อ.เมืองหนองคาย จ.หนองคาย นายธงชัย สอดแสวง นักวิชาการส่งเสริมเกษตรชำนาญการ สนง.เกษตรอำเภอเมืองหนองคาย ได้ฝึกอบรมสอนการผลิตเชื้อรา”ไตรโคเดอร์มา” และเชื้อรา”บิวเวอเรีย” เพื่อควบคุมโรคให้แก่เกษตรกรที่สนใจ โดยเชื้อราดังกล่าว เป็นเชื้อราปฏิบักษ์ ดำรงชีวิตอยู่ในดินโดยอาศัยและกินเศษซากพืชซากสัตว์ และอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร จัดเป็นเชื้อประเภท Saprophyte (แซพระไฟท์) สามารถทำลายแมลงหรือทำให้เกิดโรคกับแมลงหลายชนิด เช่น ด้วงหมัดผัก เพี้ยหมัดกระโดด หนอนใยผัก โรคไหม้ โรคใบจุดสีน้ำตาล เป็นต้น
     นายธงชัย กล่าวว่า เชื้อรา”ไตรโคเดอร์” และเชื้อรา”บิวเวอเรีย” จะช่วยเพิ่มความต้านทานโรคของพืชให้มีระบบรากดี เจริญเติบโตดี แข็งแรงและทนทานต่อโรคพืชตามฤดูกาลต่างๆ โดยนำหัวเชื้อราฯ ใส่ในถุงข้าวที่หุงพอสุกทิ้งไว้ 15 วัน จะกลายเป็นสีเขียวเข้มและสีขาว นำไปผสมน้ำในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 ส่วน ใช้รดน้ำพืชผักได้ทุกชนิด ทั้งไม้ผล ไม้ดอกและไม้ประดับ โดยสามารถนำเชื้อราที่ได้ไปคลุกกับเมล็ดพืช หรือผสมน้ำฉีดพ่นหรือรองก้นหลุมก่อนปลูกก็มีประสิทธิภาพ ซึ่งการผลิตเชื้อรา”ไตรโคเดอร์” และเชื้อรา”บิวเวอเรีย”มาใช้เอง จะสามารถช่วยเกษตรกรลดต้นทุนการซื้อปุ๋ยเคมี ปลอดภัยจากสารพิษตกค้างและสามารถใช้ได้อย่างต่อเนื่องด้วยต้นทุนที่ประหยัดกว่า มีวิธีการทำทุกขั้นตอนไม่ยุ่งยาก เหมาะสำหรับเกษตรกรที่ต้องดูแลพืชสวน ไร่ นา และผลผลิตในช่วงเก็บเกี่ยว ลดความสูญเสียของต้นพืชทุกชนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยศูนย์บริหารศัตรูพืชจังหวัดขอนแก่น ได้สนับสนุนหัวเชื้อราให้แก่เกษตรกรเพื่อผลิตใช้เองโดยไม่ต้องซื้อ เป็นการลดต้นทุนและเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร ส่วนประโยชน์ใช้ในทางควบคุมโรคพืชได้หลายชนิด เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซี่ยน (AEC) อย่างเป็นทางการ
     สำหรับบ้านนาพิพาน เป็นศูนย์นำร่องในการจัดการสตรูพืชชุมชนของตำบลปะโค ซึ่งก็ได้อบรมพี่น้องเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 30 คน และมีการอบรมอยู่จำนวน 2 ครั้ง ซึ่งในการอบรมแต่ละครั้งเราก็จะเน้นหนักในการผลิตสารชีวะพันธุ์ เช่น เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า เชื้อราบิวเวอเรีย ซึ่งเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าเป็นเชื้อราที่ใช้ป้องกันโรค เช่น โรคโคนเน่า โรคไฟด่าง เป็นต้น แต่ท่าเป็นเชื้อราบิวเวอเรียที่ลักษณะสีขาว เราจะใช้ป้องกันแมลง เช่น หนอน เพี้ยต่างๆ ที่จะมาทำลายในพืชผักของเกษตรกร ซึ่งต้องมีการป้องกันตั้งแต่เริ่มแรก ตั้งแต่การปรับปรุงดินไม่ให้เป็นที่หลบซ่อนของสตรูพืช
       นายธงชัย กล่าวอีกว่า ปัจจุบันได้ทำการฝึกอบรมพี่น้องเกษตรกรในพื้นที่ตำบลประโค จำนวน 110 ราย ซึ่งในจำนวนที่ได้ทำการอบรมมาแล้วนั้น สามารถนำไปใช้ได้เกิน 80 %  ที่มีความรู้เรื่องการผลิตสารชีวะพันธุ์ใช้เองและสามารถใช้ภายในครอบครัวได้ เพื่อลดต้นทุนและเป็นการผลิตพืชที่ปลอดภัยให้ผู้บริโภคอีกด้วย.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น