วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

หนองคาย - โครงการส่งน้ำห้วยโมง ชี้แจงสถานการณ์น้ำและศักยภาพการส่งน้ำ ปี 58/59 รณรงค์ให้ทำนาแบบ “เปียกสลับแห้ง แกล้งข้าว” เพื่อประหยัดน้ำ

ฝ่ายจัดสรรน้ำและปรับปรุงระบบชลประทาน  โครงการชลประทานหนองคาย ร่วมกับคณะกรรมการบริหารการใช้น้ำชลประทานสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า  ชี้แจงสถานการณ์น้ำและศักยภาพการส่งน้ำสำหรับการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งแก่เกษตรกร  แม้ว่าช่วงฤดูแล้งจะมีน้ำเพียงพอสำหรับทำการเกษตร แต่ควรให้เกษตรกรใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ และหันมาทำนาแบบ เปียกสลับแห้ง แกล้งข้าว
            วันที่ 5 พ.ค. 58  ที่ศาลาการเปรียญวัดโพธิรุกขาราม บ.โพธิ์ตาก อ.โพธิ์ตาก จ.หนองคาย ฝ่ายจัดสรรน้ำและปรับปรุงระบบชลประทาน  โครงการชลประทานหนองคาย ร่วมกับคณะกรรมการบริหารการใช้น้ำชลประทานสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า  ได้ประชุมชี้แจงแผนการปลูกพืชฤดูแล้งประจำปี 2558/2559 ให้แก่กลุ่มบริหารการใช้น้ำชลประทานสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า เพื่อชี้แจงสถานการณ์น้ำ และศักยภาพในการส่งน้ำสำหรับการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง และชี้แจงผลการดำเนินงาน บัญชีรายรับ รายจ่าย ในการบริหารงาน ฤดูนาปี 2558 แก่เกษตรกรผู้ใช้น้ำจากลำห้วยโมงเข้ารับฟังโดย
       นายบุญชัย ตัณฑชุณห์ ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย  ได้ขอให้เกษตรกร ที่ใช้น้ำจากโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง และอ่างเก็บน้ำห้วยลาน ได้วางแผนการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ  แม้ว่า ทางโครงการฯ ได้ผันน้ำจากแม่น้ำโขงเข้ามาเก็บกักไว้ในลำห้วยโมงมีเพียงพอแก่เกษตรกรก็ตาม  แต่เกษตรกรควรใช้น้ำทำการเกษตรปลูกพืชและทำนา โดยใช้น้ำอย่างรู้คุณค่าและมีประสิทธิภาพ  ทำนาแบบ เปียกสลับแห้ง แกล้งข้าว”  คือให้ข้าวอดน้ำสองอายุด้วยกัน คือปล่อยให้ข้าวขาดน้ำครั้งที่ 1 ช่วงเจริญเติบโตทางต้นที่มีอายุข้าว 35-45 วัน ก็จะให้ต้นข้าวอดน้ำเป็นเวลา 14 วัน ในการให้ต้นข้าวอดน้ำในแปลงลดต่ำกว่าผิวแปลง 10-15 เซนติเมตร

       ในช่วงที่ 2 คือช่วงข้าวแตกกอสูงสุด คือ ช่วงอายุข้าว 60-65 วัน จะให้ข้าวอดน้ำอีก 14 วัน วิธีการนี้เป็นการทดลองวิจัยจากชลประทาน ซึ่งสามารถจะลดการใช้เมล็ดพันธุ์พืชได้ 70 เปอร์เซ็นต์ และก็ลดการใช้น้ำได้ 25-40 เปอร์เซ็นต์ ลดการใช้ปุ๋ยเคมีประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ ลดการใช้สารเคมีในการกำจัดสตรูพืชได้ประมาณ 70-100  เปอร์เซ็นต์ เทคนิคในการลดสารเคมีในนาจะใช้แหนแดงใส่ลงไปในนา เพราะแหนแดงจะไปคลุมดินทำให้วัชพืชไม่ขึ้น ทำให้ประหยัดต้นทุนจากไร่ละ 5,600 บาท ก็จะเหลือ 3,400 บาท ผลผลิตต่อไร่ก็จะสูงขึ้น ข้าวก็จะแตกกอดีขึ้น ส่งผลให้ลวงข่าวจะเพิ่มขึ้น  โดยเฉลี่ยแล้วจากการวิจัยก็จะได้ข้าวตกที่ 1,200 กิโลกรัม/ไร่ ซึ่งได้รับความสนใจจากเกษตรที่เข้าร่วมรับฟังครั้งนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น