วันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2558

หนองคาย - กระทรวงพลังงาน ร่วมกับศูนย์วิจัยพลังงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และมหาวิทยาลัยนเรศวร เปิดโครงการศึกษาพัฒนาต้นแบบระบบบ่อเลี้ยงปลาแสงอาทิตย์สำหรับชุมชน เพื่อเป็นแหล่งอาหารโปรตีนอย่างยั่งยืน ให้กับกลุ่มเลี้ยงปลาชุมชนบ้านหนองบ่อ จ.หนองคาย

       วันนี้ (27 มิ.ย. 58) ที่กลุ่มเลี้ยงปลาชุมชน หมู่ 7 บ้านหนองบ่อ ต.ปะโค อ.เมือง จ.หนองคาย นายยงยุทธ์ สวัสดิสวนีย์ ผอ.สำนักพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน เป็นประธานมอบต้นแบบระบบเลี้ยงปลาแสงอาทิตย์ โครงการศึกษาพัฒนาต้นแบบระบบบ่อเลี้ยงปลาแสงอาทิตย์สำหรับชุมชน ปี 2557 ให้กับกลุ่มเลี้ยงปลาชุมชนบ้านหนองบ่อ หมู่ 7 ต.ปะโค  ซึ่งเป็นความร่วมมือกับศูนย์วิจัยพลังงาน วิทยาลับพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และมหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหารโปรตีนจากสัตว์น้ำให้กับกลุ่มเป้าหมาย โดยมี ผศ.ดร.ณัฐวุฒิ ดุษฎี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพลังงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้, นายสมเกียรติ แก้วพิลา นายกเทศมนตรีตำบลปะโค และประชาชนร่วมพิธี
       ทั้งนี้ การวิจัยได้ทำการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 33 กลุ่มเป้าหมาย เพื่อส่งเสริมและสาธิตระบบบ่อเลียงปลาแสงอาทิตย์  และได้คัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่, อ.เมือง จ.เลย และ ต.ปะโค อ.เมือง จ.หนองคาย โดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน เป็นผู้สนับสนุนงบประมาณจัดสร้างโรงเรือนขนาดกว้าง 7.5 เมตร ยาว 18 เมตร มีบ่อขนาด 5 คูน 5 เมตร 3 บ่อ มูลค่า 180,000 บาท เกษตรกรสามารถใช้เลี้ยงปลาดุกอุย กบ ปลาหมอ และกุ้งก้ามกรามได้ ทั้งนี้ยังได้พัฒนาสูตรอาหาร เพื่อให้เกษตรกรผลิตอาหารใช้เอง โดยบ่อเลี้ยงปลาพลังงานแสงอาทิตย์จะมีระยะเวลาของผ้าใบ 7-10 ปี และโครงเหล็กประมาณ 25 ปี และระบบยังสามารถควบคุมอุณหภูมิของน้ำที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของปลา ทำให้ปลาโตเร็วขึ้น ขายได้เร็วขึ้น เลี้ยงปลารอบใหม่ได้เร็วขึ้น ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงมีรายได้เพิ่มขึ้น
       นายยงยุทธ์ กล่าวว่า ความแตกต่างระหว่างบ่อพลังงานแสงอาทิตย์กับบ่อดินธรรมดา  ก็คือเรื่องการควบคุมอุณหภูมิ  ปลาจะมีการเติบโตได้ดีก็คือช่วง 28-32 องศา ท่าเราเลี้ยงด้วยบ่อธรรมดาหรือบ่อดิน จะเป็นสาเหตุของการเจริญเติบโตของปลาช้า ซึ่งอากาศในช่วงฤดูหนาวจะลดถึง 10 องศา บางทีปลาก็ไม่ทานอาหาร อุณหภูมิไม่ดี ไม่โต  ซึ่งเรารู้ความสำคัญของจุดนี้ก็เลยเป็นบ่อที่สามารถควบคุมอุณหภูมิที่เหมาะสม พอได้อุณหภูมิที่ดีแม้ในหน้าหนาวที่มีอุณหภูมิแตกต่างทั้งกลางวันและกลางคืนมาก  ปลาก็ยังอยู่ได้สบายด้วยอุณหภูมิที่เราควบคุม  และปลาก็จะทานได้ตามปกติ การเจริญเติบโตก็จะได้เจริญเติบโตได้สมบูรณ์มากขึ้น เกษตรกรก็จะสามารถนำไปขายราคาดีด้วย ขายราคาสูง นี่คือความแตกต่างที่ว่าทำไมเราถึงน้ำบ่อเลี้ยงมาพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น