วันที่ 6 มิ.ย.56 ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้ากรณี ชาวประมงหาปลาในแม่น้ำโขง พบพระพุทธรูปโบราณขนาดใหญ่ในแม่น้ำโขง บริเวณริมตลิ่งบ้านร่มเย็น เมืองต้นผึ้ง แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว ซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับบ้านสบกก ต.บ้านแซว อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ทำให้ทางคณะกรรมการหมู่บ้านร่มเย็น และทาง สปป.ลาว ได้นำเครื่องจักรและดำเนินการเก็บกู้มาตั้งแต่วันที่ 3 มิถุนายนที่ผ่านมา ซึ่งในเบื้องต้นการกู้องค์พระขึ้นจากแม่น้ำโขงเป็นไปด้วยความลำบาก เพราะกระแสน้ำไหลเชี่ยว ประกอบกับองค์พระผังอยู่ใต้หินทรายลึก จึงทำให้ไม่สามารถกู้ออกมาได้
โดยล่าสุดทาง สปป.ลาว ได้จัดส่งกำลังคนจำนวนมาก และเครื่องจักรที่ทันสมัย เช่น เครื่องตรวจหาวัตถุมาช่วยในการค้นหาองค์พระ รถแบ็คโฮนำเข้าทำการขุดโดยรอบบริเวณซึ่งมีการพบเบื้องต้นเพียงส่วนบ่า ขององค์พระเท่านั้น จนสามารถนำขึ้นมาไว้บนบกได้ โดยพบว่าเป็นพระปูนปั้นขนาดใหญ่หน้าตักกว้างไม่ต่ำกว่า 6-7 เมตร ภายในเป็นอิฐ แต่ด้วยองค์พระมีอายุเก่าแก่และจมอยู่ในแม่น้ำโขงเป็นเวลานาน ประกอบกับความไม่พร้อมของเครื่องมือในการนำเอาองค์พระขึ้นมาจึงทำให้องค์พระแตกแยกชิ้นส่วนออกเป็นหลายส่วน
อย่างไรก็ตามยังคงเห็นสภาพว่าเป็นส่วนเศียร หน้าอก แขน ซึ่งทันทีที่มีการนำองค์พระขึ้นมาจากน้ำได้ทำให้มีชาวบ้านที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนานำดอกไม้ธูปเทียนมากราบไหว้เพื่อขอพรเป็นสิริมงคลแก่ตน เองและครอบครัวเป็นจำนวนมาก เมื่อเจ้าหน้าที่ได้นำเครื่องตรวจหาวัตถุมาช่วยในการค้นหาด้วยทำให้พบวัตถุมงคลเพิ่มเติมอีกเป็นจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่จะเป็นพระแบบต่างๆ โดยเฉพาะพระปกโพธิ์ที่พบ มากในสมัยเชียงแสน รวมทั้งที่เป็นส่วนเปลวรัศมีของพระพุทธนวล้านตื้อ ซึ่งเป็นพระที่มีชื่อเสียงสมัยเชียงแสน และประเทศไทยก็เคยมีเปลวรัศมีลักษณะนี้อยู่ชิ้นหนึ่งแต่มีขนาดใหญ่กว่า และเคยมีการออกค้นหา องค์พระในแม่น้ำโขง บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอเชียงแสน นานกว่า 1 สัปดาห์แต่ก็ไม่พบตัวองค์พระ ล่าสุดทางทางของ สปป.ลาว ได้จัดเจ้าหน้าที่กระทรวงวัฒนธรรมเข้ามาตรวจสอบเก็บบันทึกหลักฐานที่ค้น พบทุกชิ้นแล้วเพื่อนำไปเปรียบเทียบพระเหล่านี้เป็นพระสร้างขึ้นเมื่อสมัยใด
ทางด้าน ดร.ทองฤทธิ์ หลวงโคตร ผู้เชี่ยวชาญประจำกองโบราณคดีลาว กล่าวว่า ในการตรวจค้นพบเบื้องต้นยังได้ชิ้นส่วนขององค์พระไม่ครบ โดยเฉพาะส่วนที่เป็นฐานรากองค์ซึ่งจะระบุได้ว่าเป็นสมัยใด จึงบอกไม่ได้ว่าเป็นพระอะไรหรือสร้างขึ้นสมัยใด ซึ่งจะต้องนำชิ้นส่วนต่างๆ ทั้งพระประธาน และพระขนาดเล็กหรือวัตถุมงคลไปประกอบ ลวดลายแต่บริเวณนี้เป็นเมืองสุวรรณโคมคำ หรือ เมืองเชียงแสนมาก่อน ซึ่งมีอายุระหว่าง 400-800 ปี ก็น่าจะอยู่สมัยนั้น
"ตอนนี้ทางการลาวได้ให้นำสิ่งที่มีค้นพบได้นำไปเก็บรักษาไว้ที่แขวงบ่อแก้วไว้ก่อน เพื่อสะดวกต่อการตรวจสอบ อีกทั้งป้องกันการถูกขโมย หากมีการตรวจพิสูจน์ได้ว่าเป็นพระอะไรและสร้างขึ้นสมัยใด ก็จะ มีการปรึกษาหารือกันหลายฝ่ายในระดับบริหารของประเทศ ซึ่งอาจต้องมีการบูรณะประกอบองค์พระขึ้นมาใหม่หรือมีการจัดสร้างเป็นรูปแบบพิพิธภัณฑ์ โดยอาจจะนำมาไว้ที่บริเวณบ้านร่มเย็น ซึ่งเป็นจุดที่มี การค้นพบ เพื่อให้ประชาชนทั้งชาวลาว และชาวไทย มากราบไหวเป็นสิริมงคล และศึกษาทางประวัติศาสตร์ ซึ่งการขุดค้นพบครั้งนั้นจะบ่งบอกประวัติศาสตร์ในอดีตได้เป็นอย่างดี" ดร.ทองฤทธิ์ กล่าว
ขณะที่พระอาจารย์อธิการ อภิชาติ เจ้าอาวาสวัดสบกก บ้านสบกก ต.บ้านแซว อ.เชียงแสน กล่าวว่า ในอดีตพื้นที่ ต.สบกก และบ้านร่มเย็น เป็นแผ่นดินผืนเดียวกัน ซึ่งมีความรุ่งเรืองทางศาสนามากในสมัย สุวรรณโคมคำ หรือช่วงสมัยเชียงแสนตอนกลางและตอนปลาย ต่อมาเมื่อแม่น้ำโขงสายน้ำมีการเปลี่ยนทิศทำให้ถูกแบ่งแยกออกจากกัน บ้านร่มเย็นไปอยู่ในดินแดนของ สปป.ลาว แต่ทั้งสองฝั่งก็ยังเป็นพี่น้อง เดียวกัน มีวิถีชีวิต วัฒนธรรมและศาสนาเหมือนๆ ซึ่งมีวัดถึง 6 แห่งที่มีรูปแบบการก่อสร้างและพระประธานเหมือนกัน อีกทั้งยังมีร่องรอยของความรุ่งเรืองทางศาสนาให้เห็น ซึ่งน่ายินดีกับประเทศลาวที่มีการขุด ค้นพบพระในครั้งนี้ ในส่วนเขตแดนของไทยก็เชื่อว่าน่าจะมีเหมือนเพราะที่ผ่านมาก็มีผู้พบวัตถุมงคลหรือเครื่องใช้โบราณบ่อยครั้งแต่ยังไม่มีใครมาค้นหาอย่างจริงจังเท่านั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น