ก่อนหน้านี้ชาวลาวได้ขุดหาดทรายริมแม่น้ำโขง ปัจจุบันระดับไม่ลึกมากนัก พบโบราณวัตถุ เช่น อิฐ หินแกะสลัก พระพุทธรูปโบราณขนาดเล็กจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่เสียรูปทรงไปตามกาลเวลา และถูกกระแสน้ำกัดเซาะ โดยชาวบ้านได้ตั้งเต็นท์และนำตู้กระจกมาเก็บโบราณวัตถุเหล่านี้ไว้บูชา
ชาวบ้านฝั่งลาวยังได้นำรถแบ็กโฮขุดหาดทรายบริเวณเดียวกัน ลึกลงไปประมาณ 1 เมตร จนพบส่วนหนึ่งขององค์พระพุทธรูป ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นพระประธานของวัดโบราณบริเวณดังกล่าว โดยส่วนที่โผล่ขึ้นมาเหนือน้ำเป็นส่วนไหล่ สร้างด้วยการก่ออิฐถือปูนเป็นรูปมน จึงคาดว่าน่าจะเป็นพระพุทธรูปที่มีหน้าตักกว้างไม่ต่ำกว่า 4 เมตร
ชาวบ้านฝั่งลาวยังได้นำรถแบ็กโฮขุดหาดทรายบริเวณเดียวกัน ลึกลงไปประมาณ 1 เมตร จนพบส่วนหนึ่งขององค์พระพุทธรูป ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นพระประธานของวัดโบราณบริเวณดังกล่าว โดยส่วนที่โผล่ขึ้นมาเหนือน้ำเป็นส่วนไหล่ สร้างด้วยการก่ออิฐถือปูนเป็นรูปมน จึงคาดว่าน่าจะเป็นพระพุทธรูปที่มีหน้าตักกว้างไม่ต่ำกว่า 4 เมตร
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่มีการนำพระพุทธรูปขนาดใหญ่ขึ้นมา เพราะส่วนใหญ่จมอยู่ใต้ทรายและน้ำ อีกทั้งชาวบ้านเกรงว่าหากขุดขึ้นมาทรายด้านข้างจะทรุดตัวไปลงทำให้องค์พระจมลงสู่แม่น้ำโขง หรือหากมีโขดหินเกาะเกี่ยวไว้ก็จะทำให้พระพุทธรูปเสียหายได้ จึงได้นำกระสอบทรายไปกั้นไว้โดยรอบเพื่อหารือเกี่ยวกับวิธีการนำขึ้นมาต่อไป
นายนพคุณ สุวรรณ์ ผู้ใหญ่บ้านสบกก กล่าวว่า น้ำโขงชายแดนไทย-ลาว บริเวณนี้เรียกขานกันมาตั้งแต่สมัยโบราณว่า “นครสุวรรณโคมคำ” มีตำนานเรื่องความเจริญรุ่งเรืองมากมาย อีกทั้งที่ผ่านมาชาวบ้านทั้งสองฝั่งต่างเคยพบโบราณวัตถุจำนวนมาก แต่ก็ยังไม่เคยพบพระพุทธรูปที่มีหน้าตักกว้างกว่า 4 เมตร และทำจากโลหะเช่นนี้ ดังนั้นหากมีการขุดขึ้นมาประดิษฐานที่ใดก็คงจะมีประชาชนทั้งสองฝั่งประเทศ และนักท่องเที่ยวเดินทางมาสักการบูชากันเป็นจำนวนมากแน่นอน
ด้านนายปิงชัย อินต๊ะพรหม ผู้อาวุโส หรือชาวลาวเรียกกันว่าพ่อใหญ่ หมู่บ้านร่มเย็น กล่าวว่า ปัจจุบันวัดประจำหมู่บ้านเพิ่งจะมีพระและเณรมาจำพรรษาอยู่ 11 รูป ซึ่งในอดีตวัดนี้เคยร้างพระและเณรมานาน ต่อมามีพระสงฆ์เข้ามาจำพรรษา ส่วนชาวประมงก็เริ่มพบวัตถุมงคลต่างๆ ริมหาดแม่น้ำโขง และลึกเข้ามาบนแผ่นดินมากขึ้นเรื่อยๆ โดยมีทั้งอิฐ พระพระพุทธรูปขนาดเล็ก ส่วนใหญ่ก่ออิฐถือปูน หรือสร้างด้วยอิฐ แผ่นศิลาเคลือบทอง คัมภีร์ภาษาบาลี กระทั่งพบพระพุทธรูปองค์ใหญ่ครั้งนี้
สำหรับพระที่พบแค่ส่วนไหล่นั้น พระอาจารย์ประจำหมู่บ้านและผู้อาวุโสหลายคนเชื่อกันว่าน่าจะเป็น “พระน้ำใจเทพ” ซึ่งมีชื่อเสียงในอาณาจักรสุวรรณโคมคำ โดยตรงส่วนไหล่แสดงให้เห็นถึงลักษณะนอนตะแคง ส่วนเศียรพระคาดว่าอาจถูกเรือ หรือกระแสน้ำพัด หรืออาจจมลงไปใต้ดิน หากสามารถนำขึ้นมาจากทรายได้ชาวบ้านจะนำไปเป็นพระประธานในวัดประจำหมู่บ้านต่อไป
ทั้งนี้ นครสุวรรณโคมคำเป็นอาณาจักรเก่าแก่อาณาจักรแรกๆ บริเวณนี้ ก่อนที่จะมีอาณาจักรโยนกนาคนคร และหิรัญนครเงินยาง ก่อนจะเป็นอาณาจักรล้านนาเมื่อราว 750 ปีก่อน ดังนั้น นครสุวรรณโคมคำจึงมีอายุไม่ต่ำกว่า 1,000 ปี ปัจจุบันเหลือหลักฐานเกี่ยวกับอาณาจักรนี้น้อยมาก แต่มีการค้นพบวัดโบราณ สถูป เจดีย์ และพระพุทธรูปปางสมาธิขนาดใหญ่ ที่ชาวบ้านเรียกว่า “พระเจ้าองค์โมง” หรือ “พ่อใหญ่” ในฝั่งเมืองต้นผึ้ง หน้าตักกว้าง 6.50 เมตร สูง 7 เมตร
อย่างไรก็ตาม เมื่ออาณาจักรต่างๆ มีพัฒนาการเรื่อยมา และแม่น้ำโขงเปลี่ยนทิศทางกัดเซาะพื้นที่เดิม ทำให้เชื่อกันว่าอาณาจักรแห่งนี้ถูกแบ่งเป็นสองส่วนอยู่ในฝั่งไทย และลาว ด้วยเหตุนี้จึงยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าองค์พระพุทธรูปขนาดใหญ่ที่พบอยู่ในยุคใด แต่ชาวบ้านฝั่งไทยที่เดินทางข้ามไปบางส่วนสันนิษฐานจากรูปทรงที่โผล่เหนือน้ำว่าอาจจะเป็นพระสิงห์หนึ่ง อายุเก่าแก่กว่า 700 ปี
ภาพ/ข่าว โดย ASTV ผู้จัดการออนไลน์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น