นายแพทย์วิวรรธน์ ก่อวิริยกมล
นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดหนองคาย เปิดเผยว่า ช่วงสงกรานต์เป็นช่วงที่มีวันหยุดยาว ประชาชนทุกคนจึงนิยมเดินทางกลับบ้านที่ต่างจังหวัด
ผู้ขายอาหารก็มักจะเตรียมอาหารไว้ขายเพื่อรองรับจำนวนมาก จึงอาจมีอาหารเหลือค้างจากการจำหน่ายแต่ละครั้ง
ยิ่งช่วงนี้สภาพอากาศร้อนอบอ้าว ทำให้อาหารบูดเสียง่าย จึงยิ่งมีความเสี่ยงโรคเจ็บป่วยทางเดินอาหารสูง
โดยโรคที่พบมากในช่วงหน้าร้อนและช่วงสงกรานต์ของทุกปีคือ “โรคอุจจาระร่วง” และ “โรคอาหารเป็นพิษ”
จากการรายงานทางระบาดวิทยาพบว่า
ช่วงวันที่ 1 มกราคม ถึง 29 มีนาคม 2558 ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษ 30,259
ราย ป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วง 247,212 ราย เสียชีวิตแล้ว 3 ราย
ดังนั้นช่วงเทศกาลสงกรานต์นี้
จึงขอให้ประชาชนเพิ่มความระมัดระวังในการรับประทานอาหารและน้ำดื่มเป็นพิเศษ
ไม่ว่าอาหารที่ปรุงเองที่บ้าน อาหารสั่งซื้อ หรือออกไปรับประทานอาหารนอกบ้าน
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เตือนอาหารที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคทางเดินอาหารหน้าร้อนนี้
10 เมนู ได้แก่ 1.ลาบ/ก้อย, 2.ยำกุ้งเต้น, 3.ยำหอนแครง, 4.ข้าวผัดโรยหน้าเนื้อปู,
5.อาหารหรือขนมที่มีส่วนประกอบของกะทิ, 6.ขนมจีน, 7.ข้าวมันไก่, 8.ส้มตำ,
9.สลัดผัก และ10.น้ำแข็งที่ไม่ได้มาตรฐาน
เพื่อเป็นการป้องกันการเจ็บป่วย
จึงขอแนะนำการดูแลสุขภาพ ดังนี้
1. เลือกรับประทานอาหารที่สุก
สะอาด ปรุงเสร็จใหม่ๆ ยึดหลัก “กินร้อน ใช้ช้อนกลาง หมั่นล้างมือ”
2. หลีกเลี่ยงอาหารสุกๆดิบๆ
หรือการปรุงโดยวิธีลวก หรือพล่าสุกๆดิบๆ
3. ถ้าต้องซื้ออาหารถุง
ควรแยกข้าวออกจากกับข้าว และควรรับประทานภายในไม่เกิน 4 ชั่วโมง หลังปรุงเสร็จ
4. ถ้าอาหารเหลือต้องเก็บไว้ในตู้เย็นและทำให้สุกก่อนนำมารับประทานใหม่
หากมีกลิ่นผิดปกติต้องงด
5. ล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง
ก่อนและหลังรับประทานอาหาร และหลังจากเข้าห้องน้ำห้องส้วม
6. ผู้ประกอบการ
ต้องยึดหลักสุขาภิบาลอาหาร ได้แก่ สุก สด สะอาด ปลอดภัย
7. เลือกดื่มน้ำที่สะอาด
และน้ำแข็งที่สะอาด มีมาตรฐานเสมอ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น