อำเภอท่าบ่อ พิจารณากลั่นกรองแผนพัฒนาอาชีพเกษตรกรตามความต้องการของชุมชนเพื่อบรรเทาภัยแล้ง
ปี 2558/2559 หลังจากทีมประเทศไทยระดับตำบล
ได้จัดทำเวทีชุมชนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในช่วงฤดูแล้ง
วันที่ 24 พ.ย. 58 ที่ หอประชุม 80 พรรษา
อำเภอท่าบ่อ จ.หนองคาย นายณัชฐเดช มุลาลี ปลัดอาวุโสอำเภอท่าบ่อ
ในฐานะประธานคณะกรรมการทีมประเทศไทยตำบลท่าบ่อ เป็นประธานประชุมพิจารณากลั่นกรองแผนพัฒนาอาชีพเกษตรกรตามความต้องการของชุมชนเพื่อบรรเทาภัยแล้ง
ปี 2558/2559 โดยมี นายสมคิด ผิวนวล เกษตรอำเภอท่าบ่อ
นายเวียน ธรรมสอน หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเกษตรกร
สำนักงานเกษตรจังหวัดหนองคาย ร่วมพิจารณาโครงการฯ
จากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2558 เห็นชอบโครงการบูรณาการมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบภัยแล้ง
และโครงการจัดทำแผนชุมชนเพื่อแก้ไขวิกฤตภัยแล้ง ปี 2558/59 ใน
8 มาตรการ โดยเน้นดำเนินงานตามมาตรการที่ 4 ให้พิจารณาอาชีพตามความต้องการของหมู่บ้าน/ชุมชน
เพื่อบรรเทาผลกระทบภัยแล้งและประชาชนที่ได้รับผลกระทบด้านอาชีพ
และให้การช่วยเหลือโดยการรวบรวมและจัดทำแผนพัฒนาอาชีพเกษตรกรตามความต้องการของชุมชนเพื่อบรรเทาภัยแล้ง
ปี 2558/59 ส่งให้คณะกรรมการทีมประเทศไทยอำเภอท่าบ่อ ได้พิจารณา
และจะจัดส่งให้คณะกรรมการทีมประเทศไทยจังหวัดหนองคาย ได้พิจารณาอีกครั้ง
สำหรับโครงการที่เสนอของบประมาณ แบ่งเป็น 7 ประเภท ได้แก่ การจัดการแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรของชุมชน , การผลิตทางการเกษตรและการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร , การปรับปรุงส่งเสริมศักยภาพการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต , การจัดการเพื่อลดความสูญเสียทางผลผลิตเกษตร , ด้านเศรษฐกิจพอเพียง สร้างแหล่งอาหารชุมชน และฟาร์มชุมชน , ด้านการพัฒนาอาชีพและสร้างรายได้ , ด้านอาชีพนอกภาคเกษตร และงานหัตถกรรม และการจ้างงาน
สำหรับโครงการที่เสนอของบประมาณ แบ่งเป็น 7 ประเภท ได้แก่ การจัดการแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรของชุมชน , การผลิตทางการเกษตรและการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร , การปรับปรุงส่งเสริมศักยภาพการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต , การจัดการเพื่อลดความสูญเสียทางผลผลิตเกษตร , ด้านเศรษฐกิจพอเพียง สร้างแหล่งอาหารชุมชน และฟาร์มชุมชน , ด้านการพัฒนาอาชีพและสร้างรายได้ , ด้านอาชีพนอกภาคเกษตร และงานหัตถกรรม และการจ้างงาน
ซึ่งโครงการดังกล่าวจะช่วยบรรเทาความเดือนร้อนของเกษตรกรจากการขาดรายได้ในช่วงฤดูแล้ง
รวมทั้ง สร้างโอกาสในการปรับเปลี่ยนอาชีพและโครงสร้างการผลิตที่เหมาะสม
โดยเป็นไปตามความต้องการของชุมชนและการมีส่วนร่วมของชุมชนและเกษตรกรในการแก้ไขปัญหาและการวางแผนการผลิตด้วยตนเอง
ด้วยการคิดเอง ทำเอง สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน
โดยชุมชนเป็นผู้บริหารจัดการเพื่อให้ชุมชนและเกษตรกร
สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในช่วงวิกฤตภัยแล้ง...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น